วันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2553

ประวัติบุคคลสำคัญทางคอมพิวเตอร์ในต่างประเทศ





บุคคลสำคัญในวงการคอมพิวเตอร์







Steven Paul Jobs

สตีฟเวน พอล จ๊อบส์

เกิดวันที่ 24 ก.พ. 1955

ผลงาน: ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทแอปเปิ้ลคอมพิวเตอร์

สตีฟเวน พอล จ๊อบส์ (Steven Paul Jobs) เป็นที่รู้จักในฐานะผู้ร่วมก่อตั้ง (ร่วมกับ Steve Wozniak) บริษัทแอปเปิ้ลคอมพิวเตอร์ (Apple Computer) นอกจากนี้เขาเป็นหัวหน้าบริษัท Pixar ซึ่งเป็นบริษัทสร้างภาพการ์ตูนเคลื่อนไหว (เช่น ภาพยนตร์แอนนิเมชันเรื่อง Monster Ink, Shark Tale)

แต่สิ่งสำคัญต่อวงการคอมพิวเตอร์ที่เขาได้บุกเบิกคือการสร้างคอมพิวเตอร์แอบเปิ้ล 2 (Apple II) เขาได้เล็งเห็นถึงศักยภาพของการสั่งงานคอมพิวเตอร์ผ่านทางภาพ หรือ GUI (graphic user interface)ด้วยการใช้เมาส์ ซึ่งได้มีการใช้ครั้งแรกที่บริษัท Xerox PARC





Linus Torvalds

ไลนัส ทอร์วัลด์ส

เกิดวันที่ 28 ธันวาคม 1969 ที่กรุงเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์

ผลงาน: ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ (Linux)

เมื่อปี 1991 ไลนัส ทอร์วัลด์ส ซึ่งขณะนั้นอายุ 21 ปี ได้เข้าเรียนวิทยาการคอมพิวเตอร์ ที่มหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ หลังจากที่เพิ่งซื้อคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมาใช้งาน เขาก็ไม่ชอบระบบปฏิบัติการ (OS: operating system) ที่มีมากับเครื่องซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการ MS-DOS (disk operating system ของบริษัทไมโครซอฟต์) เขาเองชอบระบบปฏิบัติการยูนิกซ์มากกว่าซึ่งเขาเคยใช้ในคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย เขาตัดสินใจสร้างระบบปฏิบัติการขึ้นมาเองซึ่งคล้ายยูนิกซ์ แต่สามารถทำงานได้บนคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เขาใช้เวลาหลายเดือนในการสร้างระบบปฏิบัติการนี้ขึ้นมา และตั้งชื่อว่าลีนุกซ์ (Linux) เขาได้เผยแพร่รหัสโปรแกรมของระบบปฏิบัติการนี้ให้นักเขียนโปรแกรมอื่น ๆ ได้ศึกษาและพัฒนาต่อ และ 8 ปีหลังจากนั้นเขาก็เป็นที่ชื่นชมจนได้รับยกย่องให้เป็นวีรบุรุษ เนื่องจากระบบปฏิบัติการลีนุกซ์นี้ทำให้บริษัทยักษ์ใหญ่ไมโครซอฟต์ต้องขยาดได้ ผู้ใช้หันมาใช้ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์แทนวินโดวส์มากขึ้นอย่างรวดเร็ว

ทอร์วัลด์ส เกิดเมื่อปี 1970 และเติบโตที่กรุงเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ เขาเริ่มเขียนโปรแกรมเล่นตั้งแต่อายุ 10 ขวบ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณปู่ ยี่ห้อ Commodore VIC-20 พอเขาเรียนระดับอุดมศึกษาเขาก็เห็นว่าเขามีความสามารถพอที่จะสร้างระบบปฏิบัติการขึ้นมาใช้สำหรับคอมพิวเตอร์ของเขาเองได้ และเขาก็ทำได้สำเร็จ เมื่อเขาพัฒนาลีนุกซ์เกือบสมบูรณ์เขาก็ได้แจ้งข่าวดีนี้ให้กับคนอื่น ๆ ที่มีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลใช้งานให้ทราบผ่านข้อความบนอินเตอร์เน็ต พร้อมทั้งให้ดาวโหลดหรือคัดลอกไปใช้ได้ฟรี นอกจากนี้เขายังแสดงรหัสโปรแกรมที่เขาเขียนขึ้นให้ศึกษาด้วย นั่นหมายความว่า ทุกคนสามารถช่วยทอร์วัลด์สพัฒนาและ ปรับปรุงโปรแกรมให้ดีขึ้น ในปี 1999 มีคอมพิวเตอร์ที่ทำงานบนระบบปฏิบัติการลีนุกซ์กว่า 7 ล้านเครื่อง ซึ่งมีเพิ่มขึ้นทุกปีอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้บริษัทต่าง ๆ ที่ผลิตฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ต่าง ให้การสนับสนุนโดยพัฒนาสินค้าของตนให้ทำงานบนระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ได้ด้วย




Larry Wall

แลรี่ วอลล์

ผลงาน : ภาษา Perl
แลรี่ วอลล์ (Larry Wall) เป็นนักเขียนโปรแกรมและนักภาษาศาสตร์ เขาสร้างภาษาสำหรับเขียนโปรแกรมเพิร์ล (Pearl) ในปี 1987 ซึ่งเป็นภาษาที่สามารถเขียนโปรแกรมจัดการกับชุดตัวอักษร หรือภาษาได้ดี เช่น โปรแกรมวิเคราะห์ลำดับเบสของสาย DNA





Gary Kildall
แกรี่ คิลดัลล์
เสียชีวิตวันที่ 6 กรกฎาคม 1994

ผลงาน: ระบบปฏิบัติการ CP/M
ก่อนที่จะมีการพัฒนาคอมพิวเตอร์ไอบีเอ็มพีซีและระบบปฏิบัติการดอส (MS-DOS) นั้น คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเกือบทั้งหมดทำงานด้วยระบบปฏิบัติการ CP/M ซึ่งแกรี่ คิลดัลล์ (Gary Kildall) พัฒนาขึ้น แต่เขาไม่ได้ขายให้กับบริษัทแอปเปิ้ลคอมพิวเตอร์ จึงทำให้แอปเปิ้ลหันไปซื้อระบบปฏิบัติการดอส จากบิล เกตส์ (Bill Gates) แทน จึงทำให้คนส่วนใหญ่ลืมระบบปฏิบัติการ CP/M ไป








Seymour Papert

เซย์มัวร์ ปาเปิร์ต

เกิดวันที่ 1 มีนาคม 1928 ที่แอฟริกาใต้

ผลงาน : ภาษาโลโก (LOGO) เพื่อให้เด็กเรียนรู้การเีขียนโปรแกรม

เซย์มัวร์ ปาเปิร์ต (Seymour Papert ) เป็นนักคณิตศาสตร์และนักการศึกษาที่สถาบันเอ็มไอที เขาเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกปัญญาประดิษฐ์โดยเสนอแนวคิดเรื่องความรู้ของเครื่องจักร และได้สร้างภาษาโลโกในปี 1968 ซึ่งเป็นภาษาที่เหมาะสำหรับเด็กในการฝึกหัดเขียนโปรแกรม โดยสามารถระดมสมอง ร่วมกันคิดเพื่อสร้างโปรแกรม เขายังคิดเพื่อการศึกษานั่นคือ การนำเอาแนวคิดการเรียนรู้ของ ฌอง เพียเจต์ (Jean Piaget) มาใช้ในโรงเรียนได้อย่างไร และได้เน้นผลกระทบของเทคโนโลยีในการเรียนรู้ทั้งในโรงเรียนและในชีวิตประจำวัน


การแบ่งยุคคอมพิวเตอร์

การพัฒนาคอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมีการแบ่งออกเป็นยุคต่าง ๆ เป็น 5 ยุค
ยุคที่ 1


UNIVAC I คือเครื่องคอมพิวเตอร์เอนกประสงค์ที่ใช้ในเชิงธุรกิจ เป็นเครื่องหมายของการเริ่มต้นยุคที่ 1 เครื่องคอมพิวเตอร์ในยุคนี้มีขนาดใหญ่ ใช้หลอดสุญญากาศ (Vacuum tubes) ซึ่งก่อให้เกิดความร้อนสูงมาก จึงต้องใช้เครื่องปรับอากาศ
การบำรุงรักษา และพื้นที่กว้างมาก สื่อบันทึกข้อมูลได้แก่ เทปแม่เหล็ก IBM 650 เป็นเครื่องที่สามารถทำงานได้ทั้งด้านธุรกิจและวิทยาศาสตร์ หน่วยความจำเป็น ดรัมแม่เหล็ก (magnetic drum) และใช้บัตรเจาะรู การสั่งงานใช้ภาษาเครื่อง (machine language) ซึ่งเป็นภาษาตัวเลข ในระบบตัวเลขฐานสอง (binary digit)

ยุคที่ 2
ค.ศ. 1959 ทรานซิสเตอร์ และส่วนประกอบอื่น ๆ เช่น Solid state, semiconductor วงจรทรานซิสเตอร์ มีขนาดเล็กลง ความร้อนลดลง ราคาถูกลง และต้องการพลังงานน้อยกว่าการใช้หลอดสุญญากาศ คอมพิวเตอร์ในยุคที่สอง จึงมีขนาดเล็กลง แต่ความเร็วสูงขึ้น และน่าเชื่อถือมากกว่าคอมพิวเตอร์ในยุคที่ 1
คอมพิวเตอร์ในยุคนี้ใช้ วงแหวนแม่เหล็ก (Magnetic cores) เป็นหน่วยความจำ สื่อบันทึกข้อมูลหลักในยุคนี้ใช้จานแม่เหล็ก (magnetic disk packs) หน่วยความจำสำรองอื่น ๆ ยังคงเป็น เทปแม่เหล็ก และบัตรเจาะรู ในยุคนี้ มีการพัฒนาภาษาระดับต่ำ (low-level language) หรือภาษาอิงเครื่อง เป็นภาษารหัส ที่ง่ายต่อการเขียนมากกว่าภาษาเครื่อง เช่น ภาษาแอสเซมบลี (assembly) โดยมีโปรแกรมแปลภาษาคือ แอสเซมเบลอร์ (assembler) ทำหน้าที่แปลให้เป็นภาษาเครื่อง



ยุคที่3

ค.ศ.1964 IBM system/360 คือจุดเริ่มต้นของยุคที่ 3 วงจรไอซี (IC: integrated circuits) เป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่นำมาใช้แทนวงจรทรานซิสเตอร์ ลักษณะของ IC เป็นแผ่นซิลิกอนขนาดเล็กหรือเรียกว่า ชิป (chip) เป็นวงจรไมโครอิเล็กทรอนิกส์ มีขนาดเล็กกว่า น่าเชื่อถือมากกว่า ความเร็วสูงขึ้น และ ขนาดของคอมพิวเตอร์เล็กลง
เริ่มใช้วิธีการแบบ Time-sharing และการสื่อสารข้อมูล ความสามารถในการประมวลผลหลาย ๆ โปรแกรมพร้อม ๆ กันเรียกว่า multi-programming ระบบปฏิบัติการ (Operating system) ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อควบคุมการประมวลผลคอมพิวเตอร์ ภาษาระดับสูงสำหรับเขียนโปรแกรม เช่น FORTRAN, COBOL เป็นต้น โปรแกรมสำเร็จรูปแพร่หลายมากขึ้น เครื่องขนาด มินิคอมพิวเตอร์เครื่องแรก คือ PDP-8 ของ the Digital Equipment Corporation ในปี ค.ศ. 1969

ยุคที่ 4


ค.ศ. 1970 เทคโนโลยีหลักที่เกิดขึ้นในยุคนี้คือ วงจร LSI (large-scale integration) เป็นวงจรรวมของวงจรตรรกะ (logic) และ หน่วยความจำ (memory) ของคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์หลายพันวงจรไว้บนแผงซิลิกอนซึ่งเป็นชิปขนาดเล็ก และถูกนำมาใช้เป็นชิปหน่วยความจำแทนวงแหวนแม่เหล็ก (ซึ่งใช้ในยุคที่ 2 และยุคที่ 3) ค.ศ. 1971 ไมโครโพรเซสเซอร์ (Microprocessor) ตัวแรกที่เกิดขึ้นคือ Intel 4004 เป็นวงจรรวมหน่วยประมวลผลหลักไว้บนชิปเพียงตัวเดียว ต่อมา ค.ศ. 1974 จึงมีการพัฒนา Intel 8080 เพื่อใช้ในระบบไมโครคอมพิวเตอร์ เครื่องแรกคือ Altair 8800 ต่อมา ค.ศ. 1978 Steve Jobs และ Steve Wozniak จึงพัฒนา Apple II ออกมาจำหน่าย และปี ค.ศ. 1981 IBM พัฒนาไมโครคอมพิวเตอร์ออกจำหน่ายเช่นกัน กลางปี ค.ศ. 1980 พบว่า ไมโครคอมพิวเตอร์จำนวนหลายล้านเครื่องถูกใช้ในบ้าน โรงเรียน และในธุรกิจ
ในยุคนี้อุปกรณ์ที่ใช้ป้อนข้อมูลโดยตรง เช่น Keyboard (แป้นพิมพ์) electronic mouse (เมาส์) light pen (ปากกาแสง) touch screen (จอสัมผัส) data tablet (แผ่นป้อนข้อมูล) เป็นต้น อุปกรณ์แสดงผลลัพธ์ เช่น จอภาพ แสดงข้อภาพ กราฟิก และเสียง เป็นอุปกรณ์พื้นฐานในเวลาต่อมา ภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม คล้ายกับภาษามนุษย์มากขึ้น เกิดระบบจัดการฐานข้อมูล และภาษาในยุคที่ 4 หรือภาษาธรรมชาติ ไม่เพียงแต่ทำให้โปรแกรมเมอร์เขียนโปรแกรมง่ายขึ้นเท่านั้น ยังช่วยให้ผู้ใช้ไม่ต้องบอกวิธีการให้คอมพิวเตอร์ทำงาน เพียงแต่บอกว่า งานอะไร ที่พวกเขาต้องการเท่านั้น โปรแกรมสำเร็จรูปในยุคนี้ ได้แก่ electronic spreadsheet (ตารางทำงาน) , word processing (ประมวลผลคำ) เช่น ค.ศ. 1979 โปรแกรมวิสิแคล (VisiCalc electronic spreadsheet program) และ โปรแกรมเวิร์ดสตาร์ (WordStar word processing) ค.ศ. 1982 โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล DBASE II และ โปรแกรมตารางทำงาน Lotus1-2-3 เป็นต้น



ยุคที่ 5

เริ่มเข้าสู่ศตวรรษที่ 21 คอมพิวเตอร์ในยุคนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่จากยุคที่ 4 เป็นคอมพิวเตอร์อัจฉริยะ สามารถคิด มองเห็น ฟัง และพูดคุยได้ โครงสร้างคอมพิวเตอร์จะแตกต่างไปจากเดิม การประมวลผลข้อมูลเป็นแบบขนาน (Parallel) แทนแบบอนุกรม (Serially) การสร้างระบบคอมพิวเตอร์อัจฉริยะ คือหนึ่งในเป้าหมายหลักทางด้านวิทยาการเกี่ยวกับปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence: AI) สิ่งที่ปรากฏในยุคนี้คือ optical computer ใช้ photonic หรือ optoelectronic เป็นวงจรมากกว่าวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ประมวลผลข้อมูลด้วยแสงเลเซอร์ ปฏิบัติการด้วยความเร็วใกล้กับความไวแสง ในอนาคตจะมีขนาดเล็กมาก เร็ว และ biocomputer มีอำนาจมากขึ้น จะเติบโตจากองค์ประกอบสำคัญคือการใช้เซลจากสิ่งมีชีวิตเป็นวงจร
ซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ใช้ง่ายและสามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ปรับเปลี่ยนได้ง่าย ผู้ใช้สามารถสนทนากับคอมพิวเตอร์ได้ด้วยภาษามนุษย์ โปรแกรมสำเร็จรูปจะทำงานร่วมกันเป็นโปรแกรมอเนกประสงค์ที่ใช้งานง่าย ทำหน้าที่ต่างกันเพื่อผู้ใช้ที่ไม่มีความรู้ทางเทคนิค เทคโนโลยีระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีทางการสื่อสารเข้ามามีบทบาทมากขึ้น การใช้เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบสำนักงานอัตโนมัติ เช่น จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic mail) ไปรษณีย์เสียง (voice mail) และ การประชุมผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (teleconferencing)
ระบบสารสนเทศบนพื้นฐานของเทคโนโลยีการสื่อสารขั้นสูง จะรวมกับการถ่ายโอนและการประมวลผลข้อมูล ภาพ และ เสียง รวมถึงการใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีใยแก้วนำแสง (Fiber optics technology) ในการให้บริการเครือข่ายดิจิตอล
โรงงานปฏิบัติงานอัตโนมัติ ใช้ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เช่น หุ่นยนต์ (Robotics) เปลี่ยนไปจากโรงงานธรรมดา โรงงานอัตโนมัตินี้ เป็นผลมาจากการผลักดันเกี่ยวกับการทำงานร่วมกันของคอมพิวเตอร์ในการผลิต การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยออกแบบ การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการผลิต หุ่นยนต์ และเทคโนโลยีการผลิตอื่น ๆ เพื่อให้กระบวนการผลิตทั้งหมดเป็นไปโดยอัตโนมัติ
ธุรกิจต่าง ๆ ใช้คอมพิวเตอร์และเครือข่าย ในการดำเนินงาน ไม่ว่าจะเป็น ค้าส่ง ค้าปลีก คลังสินค้า และโรงงาน ผู้จัดการจะอาศัยระบบสารสนเทศสำหรับผู้บริหารมากขึ้น ผู้ใช้จะพึ่งพาระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert system) ของระบบปัญญาประดิษฐ์เพื่อช่วยในการทำงานตามหน้าที่
ทุก ๆ วัน การใช้คอมพิวเตอร์มีอยู่ทั่วไป เช่น ระบบการโอนเงินทางธนาคาร ระบบชำระค่าสินค้า ระบบการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในด้านวิศวกรรม เครื่องมือในการพัฒนาระบบสารสนเทศอัตโนมัติ ระบบการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนในการศึกษา Telecommuting เป็นระบบการสื่อสารเพื่อการทำงานภายในบ้าน และ ระบบ videotex สำหรับหาซื้อสินค้าในระบบอิเล็กทรอนิกส์ (electronic shopping) การธนาคาร และบริการสารสนเทศถึงบ้าน จะมีความตื่นเต้นเร้าใจมากขึ้น สังคมจะให้ความเชื่อถือ ความมั่นใจในคอมพิวเตอร์มากขึ้นเมื่อเข้าสู่ศตวรรษที่ 21

ประวัติคอมพิวเตอร์ 5 ยุค

วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2553

ประเภทของไวรัส

ประเภทของไวรัส

บูตเซกเตอร์ไวรัส
Boot Sector Viruses หรือ Boot Infector Viruses คือ ไวรัสที่เก็บตัวเองอยู่ในบูตเซกเตอร์ของดิสก์ การใช้งานของบูตเซกเตอร์คือเมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์เริ่มทำงานขึ้นมาตอนแรก เครื่องจะเข้าไปอ่านบูตเซกเตอร์โดยในบูตเซกเตอร์จะมีโปรแกรมเล็กๆไว้ใช้ในการเรียกระบบปฏิบัติการขึ้นมาทำงานอีกทีหนึ่ง บูตเซกเตอร์ไวรัสจะเข้าไปแทนที่โปรแกรมดังกล่าว และไวรัสประเภทนี้ ถ้าไปติดอยู่ในฮาร์ดดิสก์ โดยทั่วไปจะเข้าไปอยู่บริเวณที่เรียกว่า Master Boot Sector หรือ Parition Table ของฮาร์ดดิสก์นั้น ถ้าบูตเซกเตอร์ของฮาร์ดดิสก์ใดมีไวรัสประเภทนี้ติดอยู่ ทุกๆ ครั้งที่บูตเครื่องขึ้นมาโดย พยายามเรียกดอสจากดิสก์นี้ ตัวโปรแกรมไวรัสจะทำงานก่อนและจะเข้าไปฝังตัวอยู่ในหน่วยความจำเพื่อเตรียมพร้อมที่จะทำงานตามที่ได้ถูกโปรแกรมมา แล้วตัวไวรัสจึงค่อยไปเรียกดอสให้ขึ้นมาทำงานต่อไป ทำให้เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
โปรแกรมไวรัส
Program Viruses หรือ File Intector Viruses เป็นไวรัสอีกประเภทหนึ่งที่จะติดอยู่กับโปรแกรม ซึ่งปกติก็คือ ไฟล์ที่มีนามสกุลเป็น COM หรือ EXE และบางไวรัสสามารถเข้าไปติดอยู่ในโปรแกรมที่มีนามสกุลเป็น sys และโปรแกรมประเภท Overlay Programs ได้ด้วย โปรแกรมโอเวอร์เลย์ปกติจะเป็นไฟล์ที่มีนามสกุลที่ขึ้นต้นด้วย OV วิธีการที่ไวรัสใช้เพื่อที่จะเข้าไปติดโปรแกรมมีอยู่ 2 วิธี คือ การแทรกตัวเข้าไปอยู่ในโปรแกรม ผลก็คือ หลังจากที่โปรแกรมนั้นติดไวรัสไปแล้ว ขนาดของโปรแกรมจะใหญ่ขึ้น หรืออาจมีการสำเนาตัวเองเข้าไปทับส่วนของโปรแกรมที่มีอยู่เดิม ดังนั้นขนาดของโปรแกรมจะไม่เปลี่ยนและยากที่จะซ่อมให้กลับเป็นดังเดิม การทำงานของไวรัสโดยทั่วไป คือ เมื่อมีการเรียกโปรแกรมที่ติดไวรัสอยู่ ตัวไวรัสจะเข้าไปหาโปรแกรมตัวอื่นๆ ที่อยู่ในดิสก์เพื่อทำสำเนาตัวเองลงไปทันทีแล้วจึงค่อยให้โปรแกรมที่ถูกเรียกนั้น ทำงานตามปกติต่อไป
ม้าโทรจัน
ม้าโทรจัน (Trojan Horse) เป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาให้ทำตัวเหมือนว่าเป็นโปรแกรมธรรมดาทั่วๆ ไป เพื่อหลอกล่อผู้ใช้ให้ทำการเรียกขึ้นมาทำงาน แต่เมื่อถูกเรียกขึ้นมาแล้ว ก็จะเริ่มทำลายตามที่โปรแกรมมาทันที ม้าโทรจันบางตัวถูกเขียนขึ้นมาใหม่ทั้งชุด โดยคนเขียนจะทำการตั้งชื่อโปรแกรมพร้อมชื่อรุ่นและคำอธิบายการใช้งานที่ดูสมจริง เพื่อหลอกให้คนที่จะเรียกใช้ตายใจ จุดประสงค์ของคนเขียนม้าโทรจันอาจจะเช่นเดียวกับคนเขียนไวรัส คือ เข้าไปทำอันตรายต่อข้อมูลที่มีอยู่ในเครื่อง หรืออาจมีจุดประสงค์เพื่อที่จะล้วงเอาความลับของระบบคอมพิวเตอร์ ม้าโทรจันนี้อาจจะถือว่าไม่ใช่ไวรัส เพราะเป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาโดดๆ และจะไม่มีการเข้าไปติดตั้งในโปรแกรมอื่นเพื่อสำเนาตัวเอง แต่จะใช้ความรู้เท่าไม่ถึงการของผู้ใช้เป็นตัวแพร่ระบาดซอฟต์แวร์ที่มีม้าโทรจันอยู่ในนั้นและนับว่าเป็นหนึ่งในประเภทของโปรแกรมที่มีความอันตรายสูง เพราะยากที่จะตรวจสอบและสร้างขึ้นมาได้ง่าย ซึ่งอาจใช้แค่แบตซ์ไฟล์ก็สามารถโปรแกรมประเภทม้าโทรจันได้
โพลีมอร์ฟิกไวรัส
Polymorphic Viruses เป็นชื่อที่ใช้ในการเรียกไวรัสที่มีความสามารถในการแปรเปลี่ยนตัวเองได้ เมื่อมีการสร้างสำเนาตัวเองเกิดขึ้นซึ่งอาจได้ถึงหลายร้อยรูปแบบ ผลก็คือ ทำให้ไวรัสเหล่านี้ยากต่อการถูกตรวจจับ โดยโปรแกรมตรวจหาไวรัสที่ใช้วิธีการสแกนอย่างเดียว ไวรัสใหม่ๆในปัจจุบันที่มีความสามารถนี้เริ่มมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
สทีลต์ไวรัส
Stealth Viruses เป็นชื่อเรียกไวรัสที่มีความสามารถในการพรางตัวต่อการตรวจจับได้ เช่น ไฟล์อินเฟกเตอร์ ไวรัสประเภทที่ไปติดโปรแกรมใดแล้วจะทำให้ขนาดของโปรแกรมนั้นใหญ่ขึ้น ถ้าโปรแกรมไวรัสนั้นเป็นแบบสทีลต์ไวรัส จะไม่สามารถตรวจดูขนาดที่แท้จริงของโปรแกรมที่เพิ่มขึ้นได้ เนื่องจากตัวไวรัสจะเข้าไปควบคุมดอส เมื่อมีการใช้คำสั่ง DIR หรือโปรแกรมใดก็ตามเพื่อตรวจดูขนาดของโปรแกรม ดอสก็จะแสดงขนาดเหมือนเดิมทุกอย่างราวกับว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น

"ประวัติแฮกเกอร์"



แฮกเกอร์
แฮกเกอร์ (hacker) หรือ นักเจาะระบบข้อมูล ใช้หมายถึงผู้เชี่ยวชาญในสาขาคอมพิวเตอร์ บางครั้งยังใช้หมายถึงผู้เชี่ยวชาญในสาขาอื่นนอกจากคอมพิวเตอร์ด้วย โดยเฉพาะผู้ที่มีความรู้ในรายละเอียด หรือ ผู้ที่มีความเฉลียวในการแก้ปัญหาจากข้อจำกัด ความหมายที่ใช้ในบริบทของคอมพิวเตอร์นั้นได้เปลี่ยนแปลงไปจากความหมายดั้งเดิม โดยผู้ใช้คำในช่วงหลังนั้นได้ใช้ในความหมายที่กว้างออกไป รวมทั้งในบางครั้งยังใช้ในความหมายที่ขัดแย้งกัน
ในปัจจุบัน "แฮกเกอร์" นั้นใช้ใน 2 ความหมายหลัก ในทางที่ดี และ ไม่ค่อยดีนัก ความหมายที่เป็นที่นิยม และพบได้บ่อยในสื่อนั้น มักจะไม่ดี โดยจะหมายถึง
อาชญากรคอมพิวเตอร์ ส่วนในทางที่ดีนั้น "แฮกเกอร์" ยังใช้ในลักษณะของคำติดปาก หมายถึง ความเป็นพวกพ้อง หรือ สมาชิกของกลุ่มคอมพิวเตอร์ นอกเหนือจากนี้ คำว่า "แฮกเกอร์" ยังใช้หมายถึงกลุ่มของผู้ใช้คอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะโปรแกรมเมอร์ที่มีความสามารถในระดับผู้เชี่ยวชาญ ตัวอย่างเช่น "ลีนุส ทอร์วัลด์ส ผู้สร้างลินุกซ์ นั้นเป็นแฮกเกอร์อัจฉริยะ"
จากความหมายที่แตกต่างข้างต้น จะเห็นได้ถึงความขัดแย้งในการใช้คำ บางกลุ่มที่ใช้คำแฮกเกอร์นี้เพื่อเรียกกลุ่มของตน ก็ไม่ชอบที่คำนี้ถูกใช้ในความหมายที่ไม่ดี และแนะนำให้ใช้คำอื่น เช่น
แบล็กแฮต หรือ แคร็กเกอร์ เพื่อเรียกอาชญากรคอมพิวเตอร์แทน ส่วนผู้ที่ใช้คำนี้ในความหมายที่ไม่ดี ซึ่งเป็นความหมายที่นิยมใช้กันนั้น ให้ความเห็นถึงความหมายในทางที่ดี นั้นนอกจากจะก่อให้เกิดความสับสนแล้ว ดูเหมือนว่าจะไม่เป็นที่นิยมอีกด้วย
ส่วนความหมายกลางนั้น ได้สังเกตถึงจุดร่วมระหว่างความหมายในทางที่ดีและไม่ดี โดยพิจารณาการแฮกเป็นการใช้ความชำนาญ เพียงแต่อาจใช้เพื่อจุดประสงค์ที่แตกต่างกันทั้งในทางดีและไม่ดี ตัวอย่างเช่น ช่างสะเดาะกุญแจ มีความชำนาญในการปลดกลอน (เปรียบเทียบการสะเดาะกุญแจกับการแฮก) ซึ่งความชำนาญนี้อาจถูกใช้ได้ทั้งในทางที่ดีและไม่ดี
การแฮกสามารถหมายถึงวิธีการศึกษาหาคำตอบให้กับปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยที่มีข้อจำกัดในเรื่องของข้อมูลหรือความรู้ เพื่อให้เกิดการพัฒนาหรือความเข้าใจต่อปัญหาเหล่านั้นได้มากขึ้น การได้ใช้คำว่าแฮกเกอร์จึงเป็นสิ่งที่น่าภูมิใจ เพราะเปรียบได้กับเป็นผู้คิดค้นสิ่งใหม่ที่สามารถทำงานหรือแก้ปัญหาได้ดีขึ้นและง่ายขึ้น แต่ถ้าเป็นการแฮกที่ใช้ความรู้หรือความสามารถที่มีในทางที่ไม่ดี ก็จะเกิดความสับสนในการใช้คำว่าแฮก ดังนั้นคำว่าแครกเกอร์จึงถูกนำมาใช้เรียกคนที่มีความรู้ความเข้าใจต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งแต่ใช้ความรู้นั้นในทางที่ไม่ดีและขัดกับจริยธรรมของแฮกเกอร์


แฮกเกอร์ (Hacker) คือบุคคลที่มีความสนใจในกลไกการทำงานของระบบปฏิบัติการบนคอมพิวเตอร์อย่าง ลึกซึ้ง แฮกเกอร์ส่วนใหญ่ต้องมีความรู้เทียบเท่าหรือเหนือกว่าโปรแกรมเมอร์ โดยจะเป็นเช่นนั้นได้ เพราะพวกเขามีความใส่ใจที่จะนำความรู้พื้นฐานที่ผู้อื่นมองว่าธรรมดามา ประยุกต์ใช้ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดแนวความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ อยู่ในสังคมดิจิตอลอยู่ตลอดเวลา แฮกเกอร์จะมีความเข้าใจในจุดอ่อนของระบบและที่มาของจุดอ่อนนั้นๆ เนื่องจากคอยติดตามข่าวสารและความรู้ใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา การกระทำใดๆ ที่เกิดจากการศึกษาของแฮกเกอร์จะต้องแน่ใจแล้วว่า ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ข้อมูล


แฮกเกอร์ (Hacker) หมายถึง บุคคลผู้ที่เป็นอัจริยะ มีความรู้ในระบบคอมพิวเตอร์เป็นอย่างดี สามารถเข้าไปถึงข้อมูลในคอมพิวเตอร์ โดยเจาะผ่านระบบรักษาความปลอดภัย ของคอมพิวเตอร์ได้ กลุ่มพวกนี้จะอ้างว่า ตนมีจรรยาบรรณ ไม่หาผลประโยชน์จากการบุกรุกและประณามพวก Cracker



ประวัติและผลงานของแฮกเกอร์ชื่อดังของโลก








Johan Helsingiusมีนามแฝงว่า Julf เขาเป็นผู้จัดการของ Anonymous Remailer ที่มีชื่อเสียงที่สุดในโลกเรียกว่า Penet.fi แต่ในที่สุดเขาก็ปิดกิจการลงในเดือนกันยายน ปี 1996 เนื่องจากตำรวจอ้างว่า Church of Scientology ได้รับความเสิยหายอันเกิดจากการมีคนนำความลับของพวกเขาไปเผยแพร่โดย ปกปิดตัวเองด้วยบริการของ Helsingius Remailer ที่เขาทำ ซึ่งดำเนินงานโดยคอมพิวเตอร์ 486 และ Harddisk 200Mb เพียงเท่านั้นเอง






Kevin Mitnick มีนามแฝงว่า "Condor" อาจจะเรียกได้ว่าเป็น cracker ที่มีคนรู้จักมากที่สุดในโลก Mitnik เริ่มต้นด้วยการเป็น phone phreak ตั้งแต่ปีแรกๆ Mitnik สามารถ crack เว็บไซต์ทุกประเภทที่คุณสามารถนึกได้ รวมถึงเว็บไซต์ทางการทหาร บริษัททางการเงิน บริษัทซอฟแวร์ และบริษัททางด้านเทคโนโลยีอื่น ๆ (เมื่อเขาอายุ 10 ขวบ เขาสามารถ Crack เว็บไซต์ของ North American Aerospace Defense Command) เขาถูกจับเพราะเขาดันเจาะ เข้าไปในคอมพิวเตอร์ของผู้วชาญด้านรักษาความปลอกภัย ชาวญี่ปุ่นชื่อ Tsutomu Shimomura ทำให้เอฟบีไอตามล่าตัวเขา และถูกสั่งห้ามใช้ หรือเข้าใกล้คอมพิวเตอร์ ในปัจจุบันเขาออกจากคุกแล้ว เขียนหนังสือความปลอดภัย ด้าน hacker อยู่



John Draperมีนามแฝงว่า Cap'n Crunch เขาเป็นผู้ริเริ่มในการใช้หลอดพลาสติกที่อยู่ในกล่องซีเรียลมาทำให้โทรศัพท์ได้โดยไม่ต้องเสียเงิน ด้วยเหตุนี้เขาจึงได้รับการขนานนามว่า "เจ้าพ่อการแคร็กโทรศัพท์" หรือที่เรียกกกันว่า "phreaking" ตอนที่ยังเป็นวัยรุ่นเขาพยายามทำให้โทรศัพท์คืนเหรียญมาทุกครั้งที่หยอดลงไป เครื่องมือที่เขาชอบใช้คือ whistle (เครื่องเป่า) จากกล่อง Cap'n Crunch cereal โดย whistle ดังกล่าวจะให้กำเนิดคลื่นเสียงขนาด 2600 hertz ซึ่งเพียงพอจะสามารถโทรศัพท์ได้โดยจะต้องใช้ร่วมกับ bluebox (กล่องสีน้ำเงินจะช่วยให้สามารถโทรศัพท์ฟรีได้)