บุคคลสำคัญในวงการคอมพิวเตอร์
Steven Paul Jobs
สตีฟเวน พอล จ๊อบส์
เกิดวันที่ 24 ก.พ. 1955
ผลงาน: ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทแอปเปิ้ลคอมพิวเตอร์
สตีฟเวน พอล จ๊อบส์ (Steven Paul Jobs) เป็นที่รู้จักในฐานะผู้ร่วมก่อตั้ง (ร่วมกับ Steve Wozniak) บริษัทแอปเปิ้ลคอมพิวเตอร์ (Apple Computer) นอกจากนี้เขาเป็นหัวหน้าบริษัท Pixar ซึ่งเป็นบริษัทสร้างภาพการ์ตูนเคลื่อนไหว (เช่น ภาพยนตร์แอนนิเมชันเรื่อง Monster Ink, Shark Tale)
แต่สิ่งสำคัญต่อวงการคอมพิวเตอร์ที่เขาได้บุกเบิกคือการสร้างคอมพิวเตอร์แอบเปิ้ล 2 (Apple II) เขาได้เล็งเห็นถึงศักยภาพของการสั่งงานคอมพิวเตอร์ผ่านทางภาพ หรือ GUI (graphic user interface)ด้วยการใช้เมาส์ ซึ่งได้มีการใช้ครั้งแรกที่บริษัท Xerox PARC
Linus Torvalds
ไลนัส ทอร์วัลด์ส
เกิดวันที่ 28 ธันวาคม 1969 ที่กรุงเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์
ผลงาน: ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ (Linux)
เมื่อปี 1991 ไลนัส ทอร์วัลด์ส ซึ่งขณะนั้นอายุ 21 ปี ได้เข้าเรียนวิทยาการคอมพิวเตอร์ ที่มหาวิทยาลัยเฮลซิงกิ หลังจากที่เพิ่งซื้อคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมาใช้งาน เขาก็ไม่ชอบระบบปฏิบัติการ (OS: operating system) ที่มีมากับเครื่องซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการ MS-DOS (disk operating system ของบริษัทไมโครซอฟต์) เขาเองชอบระบบปฏิบัติการยูนิกซ์มากกว่าซึ่งเขาเคยใช้ในคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย เขาตัดสินใจสร้างระบบปฏิบัติการขึ้นมาเองซึ่งคล้ายยูนิกซ์ แต่สามารถทำงานได้บนคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เขาใช้เวลาหลายเดือนในการสร้างระบบปฏิบัติการนี้ขึ้นมา และตั้งชื่อว่าลีนุกซ์ (Linux) เขาได้เผยแพร่รหัสโปรแกรมของระบบปฏิบัติการนี้ให้นักเขียนโปรแกรมอื่น ๆ ได้ศึกษาและพัฒนาต่อ และ 8 ปีหลังจากนั้นเขาก็เป็นที่ชื่นชมจนได้รับยกย่องให้เป็นวีรบุรุษ เนื่องจากระบบปฏิบัติการลีนุกซ์นี้ทำให้บริษัทยักษ์ใหญ่ไมโครซอฟต์ต้องขยาดได้ ผู้ใช้หันมาใช้ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์แทนวินโดวส์มากขึ้นอย่างรวดเร็ว
ทอร์วัลด์ส เกิดเมื่อปี 1970 และเติบโตที่กรุงเฮลซิงกิ ประเทศฟินแลนด์ เขาเริ่มเขียนโปรแกรมเล่นตั้งแต่อายุ 10 ขวบ โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณปู่ ยี่ห้อ Commodore VIC-20 พอเขาเรียนระดับอุดมศึกษาเขาก็เห็นว่าเขามีความสามารถพอที่จะสร้างระบบปฏิบัติการขึ้นมาใช้สำหรับคอมพิวเตอร์ของเขาเองได้ และเขาก็ทำได้สำเร็จ เมื่อเขาพัฒนาลีนุกซ์เกือบสมบูรณ์เขาก็ได้แจ้งข่าวดีนี้ให้กับคนอื่น ๆ ที่มีคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลใช้งานให้ทราบผ่านข้อความบนอินเตอร์เน็ต พร้อมทั้งให้ดาวโหลดหรือคัดลอกไปใช้ได้ฟรี นอกจากนี้เขายังแสดงรหัสโปรแกรมที่เขาเขียนขึ้นให้ศึกษาด้วย นั่นหมายความว่า ทุกคนสามารถช่วยทอร์วัลด์สพัฒนาและ ปรับปรุงโปรแกรมให้ดีขึ้น ในปี 1999 มีคอมพิวเตอร์ที่ทำงานบนระบบปฏิบัติการลีนุกซ์กว่า 7 ล้านเครื่อง ซึ่งมีเพิ่มขึ้นทุกปีอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้บริษัทต่าง ๆ ที่ผลิตฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ต่าง ให้การสนับสนุนโดยพัฒนาสินค้าของตนให้ทำงานบนระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ได้ด้วย
ผลงาน : ภาษา Perl
แลรี่ วอลล์ (Larry Wall) เป็นนักเขียนโปรแกรมและนักภาษาศาสตร์ เขาสร้างภาษาสำหรับเขียนโปรแกรมเพิร์ล (Pearl) ในปี 1987 ซึ่งเป็นภาษาที่สามารถเขียนโปรแกรมจัดการกับชุดตัวอักษร หรือภาษาได้ดี เช่น โปรแกรมวิเคราะห์ลำดับเบสของสาย DNA
Gary Kildall
แกรี่ คิลดัลล์
เสียชีวิตวันที่ 6 กรกฎาคม 1994
ผลงาน: ระบบปฏิบัติการ CP/M
ก่อนที่จะมีการพัฒนาคอมพิวเตอร์ไอบีเอ็มพีซีและระบบปฏิบัติการดอส (MS-DOS) นั้น คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเกือบทั้งหมดทำงานด้วยระบบปฏิบัติการ CP/M ซึ่งแกรี่ คิลดัลล์ (Gary Kildall) พัฒนาขึ้น แต่เขาไม่ได้ขายให้กับบริษัทแอปเปิ้ลคอมพิวเตอร์ จึงทำให้แอปเปิ้ลหันไปซื้อระบบปฏิบัติการดอส จากบิล เกตส์ (Bill Gates) แทน จึงทำให้คนส่วนใหญ่ลืมระบบปฏิบัติการ CP/M ไป
ผลงาน: ระบบปฏิบัติการ CP/M
ก่อนที่จะมีการพัฒนาคอมพิวเตอร์ไอบีเอ็มพีซีและระบบปฏิบัติการดอส (MS-DOS) นั้น คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลเกือบทั้งหมดทำงานด้วยระบบปฏิบัติการ CP/M ซึ่งแกรี่ คิลดัลล์ (Gary Kildall) พัฒนาขึ้น แต่เขาไม่ได้ขายให้กับบริษัทแอปเปิ้ลคอมพิวเตอร์ จึงทำให้แอปเปิ้ลหันไปซื้อระบบปฏิบัติการดอส จากบิล เกตส์ (Bill Gates) แทน จึงทำให้คนส่วนใหญ่ลืมระบบปฏิบัติการ CP/M ไป
Seymour Papert
เซย์มัวร์ ปาเปิร์ต
เกิดวันที่ 1 มีนาคม 1928 ที่แอฟริกาใต้
ผลงาน : ภาษาโลโก (LOGO) เพื่อให้เด็กเรียนรู้การเีขียนโปรแกรม
เซย์มัวร์ ปาเปิร์ต (Seymour Papert ) เป็นนักคณิตศาสตร์และนักการศึกษาที่สถาบันเอ็มไอที เขาเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกปัญญาประดิษฐ์โดยเสนอแนวคิดเรื่องความรู้ของเครื่องจักร และได้สร้างภาษาโลโกในปี 1968 ซึ่งเป็นภาษาที่เหมาะสำหรับเด็กในการฝึกหัดเขียนโปรแกรม โดยสามารถระดมสมอง ร่วมกันคิดเพื่อสร้างโปรแกรม เขายังคิดเพื่อการศึกษานั่นคือ การนำเอาแนวคิดการเรียนรู้ของ ฌอง เพียเจต์ (Jean Piaget) มาใช้ในโรงเรียนได้อย่างไร และได้เน้นผลกระทบของเทคโนโลยีในการเรียนรู้ทั้งในโรงเรียนและในชีวิตประจำวัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น